ตามที่ กระทรวงยุติธรรม โดย สำนักงานยุติธรรมจังหวัดสกลนคร ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งละ 1 ศูนย์ เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการอำนวยความยุติธรรมสู่ประชาชน รวมทั้งป้องกันปัญหาและเยียวยาทางกฎหมายในกรณีที่ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างประชาชนหรือสมาชิกในชุมชน
ศูนย์ยุติธรรมชุมชน (Community Justice) คือ การรวมกันเป็นเครือข่ายทางสังคม เป็นการส่งเสริมสนับสนุนหรือกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุมอาชญากรรม จัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ ลดและเยียวยาความเสียหายหรือความรุนแรงที่เกิดจากอาชญากรรมหรือการกระทำผิด ตลอดจนคืนคนดีกลับสู่ชุมชนด้วยการฟื้นฟู พัฒนาระบบยุติธรรมชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และเข้าถึงความยุติธรรม
โดยองค์การบริหารส่วนตำบลดงชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลดงชน ขึ้น ณ งานกฎหมายและคดี สำนักปลัดองค์การบริหารตำบล ที่ตั้ง ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลดงชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นศูนย์ช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ภายใต้การดำเนินงานตามแนวทางพัฒนาและการบริหารจัดการศูนย์ยุติธรรมชุมชนอันเป็นกลไก สำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างความเป็นธรรมและอำนวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยมีภารกิจหลัก 5 ด้าน ดังนี้
1. การป้องกันและควบคุมอาชญากรรมในชุมชน
2. การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และ รับแจ้งเบาะแส
3. การจัดการความขัดแย้ง
4. การเยียวยาหรือเสริมพลังแก่เหยื่ออาชญากรรมและความรู้สึกของชุมชน
5. การรับผู้พ้นโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติกลับสู่ชุมชน (การคืนคนดีสู่สังคม)
ภารกิจ/บทบาทของศูนย์ยุติธรรมชุมชน
วิสัยทัศน์
“หลักประกันความยุติธรรมตามมาตรฐานสากล”
พันธกิจ
1. บริหารจัดการการอำนวยความยุติธรรมในสังคมด้วยความชอบธรรม
2. พัฒนาคุณภาพการดำเนินการตามกฎหมายพันธกรณีระหว่างประเทศและมาตรฐานระบบงานยุติธรรม
3. วิจัยและพัฒนาระบบงานยุติธรรมและกฎหมาย
4. พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก
5. บูรณาการการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
6. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
7. บริหารจัดการระบบงานยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยความเป็นธรรม
8. ส่งเสริมการบูรณาการยุติธรรมและความร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ
9.เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์การให้ขีดสมรรถนะสูง
หลักการบริหารงานที่สำคัญ
อำนวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดความทุกข์ยาก สร้างประซาสามัคคี ส่งเสริมความดีสู่สังคม
อำนาจหน้าที่กระทรวงยุติธรรม
มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมไว้ว่า “ให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความยุติธรรมในสังคม และราชการอื่น ๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงยุติธรรม
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด (สยจ.)
1. เป็นผู้แทนของกระทรวงยุติธรรมส่วนภูมิภาค
2. จัดทำแผนปฏิบัติราชการของ สยจ. ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงยุติธรรม แผนพัฒนาจังหวัด และความต้องการของประชาชนในพื้นที่จังหวัด
3. บูรณาการการอำนวยความยุติธรรมในพื้นที่จังหวัด
4. ดำเนินงานกองทุนยุติธรรมระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง
5. พัฒนาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในภารกิจของการะทรวงยุติธรรม ศูนย์ยุติธรรมชุมชน และอาสาสมัครยุติธรรม
6. ให้คำปรึกษากฎหมาย และข้อมูลงานบริการหน่วยงานสังกัดกระทรวง
7. รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ รับแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นส่งต่อเรื่องและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามผล
8. ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
บทบาทของคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน
1. การป้องกันและควบคุมอาชญากรรมในชุมชนด้วยการยับยั้งหรือชะลอสถานการณ์มิให้เกิดความขัดแย้งข้อพิพาท หรือการกระทำผิดทางอาญาเกิดขึ้น โดยการเฝ้าระวังป้องกัน การควบคุมสถานการณ์ การจัดระเบียบชุมชนและการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน เช่น ระเบียบ/กฎหมายที่จำเป็น กระบวนยุติธรรม สิทธิและหน้าที่พลเมือง เป็นต้น โดยสนธิกำลังหรือบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในรูปแบบศูนย์ยุติธรรมชุมชน
2. การรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และรับแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมาย การทุจริตคอรัปชั่น รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของเด็ก สตรี คนชรา และคนพิการ และส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ และติดตามผลการดำเนินงานแจ้งให้ผู้ร้อง ผู้แจ้งทราบเป็นระยะๆ
3. การจัดการความขัดแย้ง โดยการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทตามหลักยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ หรือหลักสันติวัฒนธรรม (ดูแลรักษา/สร้างพันธภาพ ระหว่างเหยื่อ ผู้กระทำผิดและชุมชน)
4. การเยียวยาหรือเสริมพลังแก่เหยื่ออาชญากรรมและความรู้สึกของชุมชน ด้วยการให้ความเข้าใจกำลังใจช่วยเหลือหรือสนับสนุนใด ๆ ให้เหยื่ออาชญากรรมและชุมชนนั้นมีความรู้สึกที่ดีและใช้ชีวิตเป็นปกติต่อไป รวมทั้งการให้ความรู้หรือคำแนะนำในการนเรื่องขอรับความช่วยเหลือจากทางราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเสียหาย ค่าทดแทนช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา ค่าใช้จ่ายในการดำเนิน
คดีจากกองทุนยุติธรรม
5. การรับผู้พันโทษหรือผู้ถูกคุมประพฤติกลับสู่สังคมเพื่อให้บุคคลนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชน/สังคมได้ปกติตามความเหมาะสม และไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก
ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายฯ
ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลดงชน บริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย คดีแพง คดีอาญา
คดีปกครอง ให้คำแนะนำกองทุนยุติธรรมช่วยเหลือประชาชน
.
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลดงชน บริการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น .
รับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์
ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลดงชน บริการรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ เรียกร้องความเป็นธรรม
และการช่วยเหลือผู้มายื่นคำร้อง