ข้อมูลสภาพทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลดงชน

  1.  สภาพพื้นฐานของชุมชน
                       1.1  ที่ตั้ง
                       ตำบลดงชนเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 15 ตำบล ของอำเภอเมืองสกลนคร  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดสกลนคร  อยู่ห่างจากอำเภอเมืองสกลนครไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223  (สายสกล – นาแก) เป็นระยะทาง  20  กิโลเมตร

                   1.2 เนื้อที่
                   ตำบลดงชน ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลเมืองสกลนคร  มีเนื้อที่ทั้งหมด 24 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  15,000  ไร่  จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทั้งหมู่บ้าน มีจำนวน  10  หมู่  โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น  10 หมู่บ้าน  ดังนี้
หมู่ที่  1  บ้านเหล่ามะแงว                   หมู่ที่  6   บ้านหนองมะเกลือ
หมู่ที่  2  บ้านดงชน                หมู่ที่  7   บ้านเหล่าละโมง
หมู่ที่  3   บ้านแมด                 หมู่ที่  8   บ้านโพนปอหู
หมู่ที่  4  บ้านกุดแข้                หมู่ที่  9   บ้านป่าแพง
หมู่ที่  5  บ้านทามไฮ                หมู่ที่  10  บ้านใหม่หนองมะเกลือ
โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ          ติดกับ   ตำบลเหล่าปอแดง                             อำเภอเมืองสกลนคร
ทิศตะวันออก     ติดกับ   ตำบลม่วงลาย                                 อำเภอเมืองสกลนคร
ทิศใต้            ติดกับ   ตำบลตองโขบ                                          อำเภอโคกศรีสุพรรณ

                   ทิศตะวันตก      ติดกับ   ตำบลเหล่าปอแดงและตำบลโนนหอม          อำเภอเมืองสกลนคร

                   1.3  ภูมิประเทศ
               ลักษณะภูมิประเทศของตำบลดงชน มีลักษณะภูมิประเทศส่วนมากจะเป็นที่ลุ่ม และเป็นที่สูงทางทิศตะวันตก สูงจากระดับน้ำทะเล  188 เมตร ลาดลงมาทางทิศเหนือและทิศตะวันออก  สูงจากระดับน้ำทะเล  170,160  เมตร  พื้นที่ส่วนมากจะใช้ในการทำนา  โดยเฉพาะทางทิศตะวันออกของตำบล  จะมีความเหมาะสมในการทำนามาก  พื้นที่ทางการเกษตรส่วนใหญ่อยู่ล้อมรอบแหล่งน้ำ  โดยมีลำน้ำพุงไหลผ่านใจกลางตำบลในหลายหมู่บ้านและแหล่งน้ำตามธรรมชาติในแต่ละหมู่บ้าน
ตำบลดงชน  มีมีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ลุ่ม  สูงจากทางทิศตะวันตกลาดลงมาทางทิศเหนือและทิศตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย  170  เมตร

               1.4  ประชากร
               ตำบลดงชนมีประชากรทั้งสิ้น 4,694 คน แยกเป็นชาย  2,311  คน หญิง  2,383  คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 197  คนต่อตารางกิโลเมตรรายละเอียดดังนี้

หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชื่อผู้นำ
ชาย หญิง รวม
1 บ้านเหล่ามะแงว 118 105 223 64 นายศิริพงษ์  วิพรหมหา
2 บ้านดงชน 254 263 517 161 นางราศรีวรอิทธินันท์
3 บ้านแมด 302 333 635 190 นายปิ่นทอง  พรมพิลา
4 บ้านกุดแข้ 230 245 475 146 นายสมัย แสงพรหมชาลี
5 บ้านทามไฮ 118 131 249 123 นายไกรแก้ว  เทเสนา
6 บ้านหนองมะเกลือ 344 346 690 201 นายสถาพร  ลีโคตะ
7 บ้านเหล่าละโมง 155 171 326 91 นายนันทวัชร  โคตรวงศ์
8 บ้านโพนปอหู 185 180 365 103 นายนาเรกฤทธิ์ ฤทธิ์ศรีบุญ
9 บ้านป่าแพง 227 201 428 114 นายปัญญา  เบ้าหล่อ
10 บ้านใหม่หนองมะเกลือ 378 408 786 203 นายชูส่ง  วงศ์ถามาตรย์
รวม 2,311 2,383 4,694 1,396
  1. 2. สภาพทางเศรษฐกิจ

         2.1 อาชีพ
               ประชากรตำบลดงชน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  โดยมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก  อาชีพรอง  คือ  ทำไร่ ทำสวน เช่น ปลูกถั่วลิสง ข้าวโพด มะเขือเทศ แตงโม  เป็นต้น ซึ่งจะทำในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นประชากรบางส่วนยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป รับราชการและทำหัตถกรรมในครัวเรือน  เช่น  การทอเสื่อ  การจักสานอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ เป็นต้น

2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

ร้านค้า                          27      แห่ง     ร้านอาหาร       2        แห่ง
ร้านเสริมสวย                  2        แห่ง     สวนอาหาร       2        แห่ง
ร้านตัดผม                      1        แห่ง    ร้านก๋วยเตี๋ยว     1        แห่ง
ศูนย์สาธิตการตลาด           4        แห่ง     โรงสี            14        แห่ง
ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์      2       แห่ง     โรงกลึง           1        แห่ง
ร้านซ่อมรถยนต์               1       แห่ง     ปั้มหลอด         4        แห่ง

  1. 3. สภาพทางสังคม

         3.1  การศึกษา
               ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   ๒แห่งได้แก่

1)       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองมะเกลือ  หมู่ที่  6 จำนวนนักเรียน  47  คน

2)       ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแมด   หมู่ที่  3      จำนวนนักเรียน     42  คน
 โรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบลดงชน    จำนวน   3  แห่ง ได้แก่
1)   โรงเรียนบ้านดงชนเหล่าแมดบำรุงวิทย์           จำนวนนักเรียน    75  คน
2)   โรงเรียนบ้านหนองมะเกลือ                       จำนวนนักเรียน    163  คน
3)   โรงเรียนบ้านกุดแข้                                จำนวนนักเรียน    115  คน
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน  7 แห่งได้แก่ บ้านเหล่ามะแงว, บ้านแมด, บ้านทามไฮ, บ้านหนองมะเกลือ,    บ้านเหล่าละโมง,  บ้านโพนปอหู  และ บ้านป่าแพง

3.2  สถาบันและองค์กรทางศาสนา
               วัด                    11      แห่ง,  สำนักสงฆ์             –       แห่ง

3.3การสาธารณสุข
               สถานพยาบาลประจำตำบล   1        แห่ง    ได้แก่  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแมด  ตำบลดงชน  ตั้งอยู่ที่ บ้านแมดหมู่ที่  3  ตำบลดงชน
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน       –         แห่ง

         3.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
              อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน           จำนวน  3  รุ่น                รวม   120 คน
ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กู้ชีพ กู้ภัย ตำบลดงชน จำนวน 1  ศูนย์
อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย          จำนวน    30  คน

  1. 4. การบริการขั้นพื้นฐาน 

4.1  การคมนาคม 

–  ถนนลาดยางทางหลวงแผ่น  สายสกลนคร– นครพนม (หมายเลข 233)  เดินทางจากตัวเมืองสกลนคร  ประมาณ  20  กิโลเมตร  จะผ่านบ้านทามไฮ  หมู่ที่  5  ตำบลดงชน

–   ถนนลาดยางทางหลวงชนบท ๒สาย

        สายที่ 1  ผ่าน  2   หมู่บ้าน  คือ  บ้านแมด  และบ้านดงชน
สายที่  2  ผ่าน 3  หมู่บ้าน คือ บ้านเหล่าละโมง บ้านกุดแข้  และบ้านโพนปอหู
–  ถนนลูกรัง เชื่อมระหว่างหมู่บ้าน  ได้แก่ ถนนเชื่อมระหว่างบ้านหนองมะเกลือ  – บ้านดงชน ถนนเชื่อมระหว่างบ้านหนองมะเกลือ – บ้านกุดแข้  ถนนเชื่อมระหว่างบ้านหนองมะเกลือ – บ้านทามไฮถนนเชื่อมระหว่างหนองมะเกลือ – บ้านดงชน  ถนนเชื่อมระหว่างบ้านโพนปอหู – บ้านดงชน     และถนนเชื่อมระหว่างบ้านโพนปอหู – บ้านป่าแพง
–  ถนนภายในหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 – ๑10 วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก  และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นถนนลูกรัง

         4.2  การไฟฟ้า
          ในเขตตำบลดงชน  ประชากรมีไฟฟ้าใช้เกือบครบทุกหลังคาเรือน  แต่ยังมีประชาชนบางส่วนได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่  และตั้งอยู่นอกเขตการให้บริการไฟฟ้า  ทำให้ต้องใช้ไฟฟ้าร่วมกับผู้อื่น

4.3  แหล่งน้ำธรรมชาติตำบลดงชน  ประกอบด้วย

ลำดับที่ ชื่อแหล่งน้ำ หมู่บ้าน หมู่ที่ หมายเหตุ
1 หนองแวงน้อย บ้านดงชน 2
2 บึงทามไฮ บ้านทามไฮ 5
3 หนองแฝก บ้านหนองมะเกลือ 6
4 ห้วยสร้างคอน บ้านหนองมะเกลือ

บ้านใหม่หนองมะเกลือ

6

10

5 ลำน้ำพุง บ้านเหล่ามะแงว

บ้านดงชน

บ้านแมด

บ้านกุดแข้

บ้านทามไฮ

บ้านเหล่าละโมง

บ้านโพนปอหู

บ้านป่าแพง

1

2

3

4

5

7

8

9

 

 

4.4 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นและสามารถใช้การได้

ฝาย                             3        แห่ง

บ่อน้ำตื้น                        135     แห่ง

บ่อโยก                          17     แห่ง

สถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้า เพื่อการเกษตร ๑แห่ง(สถานที่ตั้งเครื่องสูบน้ำ  บ้านดงชน หมู่ที่ 2 ตำบลดงชน พื้นที่โครงการ 1,500  ไร่ พื้นที่ส่งน้ำ 400 ไร่ คลองยาว 1,805  เมตร ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2546)
4.5 การประปาหมู่บ้าน
1) ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ บ้านเหล่ามะแงว บ้านดงชน  และบ้านแมด  บริหารกิจการระบบประปาโดยองค์การบริหารส่วนตำบลดงชนจำนวนผู้ใช้น้ำ   จำนวน  276  คน
2)  ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ  บ้านโพนปอหู   บริหารกิจการประปาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาประจำหมู่บ้าน    จำนวนผู้ใช้น้ำ   จำนวน  35 คน
3)  ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ  บ้านทามไฮ  บริหารกิจการประปาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาประจำหมู่บ้าน    จำนวนผู้ใช้น้ำ   จำนวน  20  คน
4)  ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ  บ้านหนองมะเกลือ  บริหารกิจการประปาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาประจำหมู่บ้านจำนวนผู้ใช้น้ำ   184  คน
5)  ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ  บ้านกุดแข้  บริหารกิจการประปาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาประจำหมู่บ้านกุดแข้  จำนวนผู้ใช้น้ำ  51  ราย
6)  ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ  บ้านเหล่าละโมง  บริหารกิจการประปาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาประจำหมู่บ้านจำนวนผู้ใช้น้ำ  55  ราย
7)  ประปาหมู่บ้านเขตพื้นที่ให้บริการ  บ้าน ใหม่หนองมะเกลือ  บริหารกิจการประปาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปาประจำหมู่บ้านจำนวนผู้ใช้น้ำ  142  ราย

  1. 5.  ข้อมูลอื่น ๆ

5.1  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

–   ดิน    ลักษณะของดินในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงชน ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย

เหมาะแก่การทำนา  มากกว่า พืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก  แต่หากมีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างถูกต้องเหมาะสม จะสามารถปลูกพืชไร่ ไม้ผลและพืชผักได้ดี
–  แหล่งน้ำ  ในเขตตำบลดงชน  มีแหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่  หนองแวงน้อย  หนองแฝกบึงทามไฮ  ห้วยสร้างคอน  ลำน้ำพุง  และมีแหล่งน้ำที่เกิดจากการสร้างขึ้นในพื้นที่การเกษตรของประชาชน  นอกจากนี้ มีสถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้เพื่อการเกษตร
–  ป่าไม้  ในเขตตำบลดงชน  มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม  ประชาชนใช้ในการทำนา  จึงมีพื้นที่ที่เป็นป่าไม้เพียงเล็กน้อย

ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา

            ผลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น

1)  ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

–          การคมนาคมไม่สะดวก สภาพถนนในตำบลดงชน ที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านและถนนภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนซอย ซึ่งมีเขตถนนค่อนข้างแคบและสภาพถนนไม่ได้ลาดยาง หรือเทคอนกรีต ในฤดูฝน มีน้ำท่วมขัง ชื้นแฉะ ส่วนในฤดูแล้งถนนเป็นหลุมเป็นบ่อและมีฝุ่นละอองสร้างความลำบากแก่ประชาชนในตำบลและตำบลอื่นข้างเคีย
–    ปัญหาถนนไม่มีร่องระบายน้ำทำให้น้ำท่วมถนน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญหาสภาพถนนไม่ดี ขาดการวางแผนในการสร้างถนน
–  ปัญหาไฟฟ้าสาธารณะตามหมู่บ้านยังไม่ทั่วถึง  ในเขตตำบลดงชน ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน แต่ยังประสบปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าสาธารณะตามถนนในหมู่บ้าน บริเวณแยกต่าง ๆ ทำให้การสัญจรไป – มา ในเวลากลางคืนไม่ปลอดภัย
– ปัญหาขาดไฟฟ้าเพื่อการเกษตร  เนื่องจากประชาชนบางส่วนได้ไปตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่นอกเขตไฟฟ้าแรงต่ำ

         2) ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

     –          ปัญหาขาดแคลนสถานที่ทิ้งขยะ  เนื่องจากในหมู่บ้านยังไม่มีสถานที่ทิ้งขยะของหมู่บ้านทำให้มีการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ประกอบกับแต่ละครอบครัวใช้วิธีการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้อง อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้

     –          ปัญหาการคุ้มครองดูแลที่สาธารณประโยชน์  ตำบลดงชนมีที่สาธารณประโยชน์มากกว่า 200 ไร่  ซึ่งมีพื้นที่มาก ทำให้ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ประชาชนบุกรุกเข้าทำประโยชน์ส่วนตน
–      ปัญหาขาดการส่งเสริมบรรยากาศในชุมชน  ประชาชนในแต่ละหมู่บ้านและผู้นำท้องถิ่น ยังขาดจิตสำนึกที่ดีในการมีส่วนร่วม ดูแล บำรุงรักษา ภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้น่าอยู่อาศัย

         3) ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

     –          ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ  ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำไม่คุ้มค่ากับค่าแรงงาน  ค่าปุ๋ยเคมี  ยาฆ่าแมลง  รวมถึงค่าขนส่ง
–  ประชาชนขาดการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง  ทำให้ถูเอารัดเอาเปรียบด้านราคา                 –  ประชาชนขาดอาชีพเสริมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว  หลังฤดูการทำนาประชาชนส่วนใหญ่จะว่างงาน  ขาดรายได้  จึงมีบางส่วนที่จำเป็นต้องอพยพไปหางานทำในต่างจังหวัด
–  ปัญหาขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ  ประชาชนในตำบลดงชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน  ทำให้ไม่มีเงินทุนในการประกอบอาชีพหลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรืออาชีพเสริม  จึงต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายในครัวเรือนและใช้ลงทุน
–  ปัญหาขาดศูนย์ฝึกอาชีพ  และเจ้าหน้าที่ให้ความรู้  มีประชาชนสนใจที่จะฝึกอาชีพ แต่ยังขาดสถานที่ฝึกอาชีพและไม่มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ

         4) ปัญหาด้านสังคม 

      –          ปัญหาประชาชนขาดสวัสดิการทางสังคม   ยังมีผู้สูงอายุบางส่วนที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ  และผู้พิการบางคนไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ  สถานพยาบาลอยู่ไกลการเดินทางลำบาก
–  ปัญหายาเสพติด  ถึงแม้จะมีการปราบปรามจากหน่วยงานภาครัฐอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหายาเสพติด แต่ยังมีเยาวชนบางส่วนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติด
–  ปัญหาสาธารณภัย  โดยสภาพภูมิประเทศของตำบลดงชน  พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบลุ่ม  ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรในฤดูฝน  ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

         5)  ปัญหาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

     –          ประชาชนขาดช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  เนื่องจากไม่มีแหล่งหรือสถานที่ให้ประชาชนสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม หลังจากพ้นการศึกษาภาคบังคับแล้ว ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความรู้ในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติม อันจะนำไปใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มผลผลิตทางการได้
–    ปัญหาขาดการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น  สภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อสภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ทำให้การใส่ใจวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นน้อยลง

6)      ปัญหาด้านการเมืองและการบริหาร 

     –          ปัญหาสถานที่ทำงาน  องค์การบริหารส่วนตำบล เดิมตั้งเป็นสภาตำบล ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล  สถานที่ทำงานปัจจุบันจึงยังคงใช้อาคารสภาตำบลเป็นที่ทำการ  ซึ่งมีสภาพคับแคบ
–  ปัญหาผู้นำท้องถิ่นขาดวิสัยทัศน์ในการพัฒนา  เนื่องจากผู้นำท้องถิ่นยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงาน  และขาดประสบการณ์ในการวางแผนงานพัฒนาตำบล ทำให้การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
– ปัญหาบุคลากรขาดประสบการณ์และขาดความรู้ ความเข้าใจกฎระเบียบในการปฏิบัติงาน  เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ บุคลากรขาดประสบการณ์ในการทำงาน ขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนในการปฏิบัติงาน ในเรื่องกฎหมาย และระเบียบ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

    วิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น  ด้วยเทคนิค  SWOT  Analysis

         จุดแข็งของพื้นที่

  1. ระบบไฟฟ้าบริการทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
  2. ประชาชนอยู่แบบสังคมชนบท  ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน มีความสัมพันธ์กันเป็นระบบ

เครือญาติ เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ สามารถตกลงแก้ไขปัญหากันได้ง่าย  และมีนิสัยอ่อนน้อมชอบช่วยเหลือและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  มีความรักสามัคคีกันเป็นอย่างดี

  1.  ประชาชนมีการรวมกลุ่ม  เป็นกลุ่มจากการส่งเสริมของหน่วยงานราชการและกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวกันตามธรรมชาติของประชาชน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น กลุ่มผู้ปลูกข้าวมะลิ กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร กลุ่มทอผ้า กลุ่มผู้ใช้น้ำ เป็นต้น
  2. ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ทุกหมู่บ้านมีวัดประจำหมู่บ้าน   ซึ่งเป็นศูนย์รวมแหล่งยึด

เหนี่ยวจิตใจของประชาชนให้รักความสงบ  ให้อภัยซึ่งกันและกัน  รวมทั้งประกอบกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา และประเพณีต่าง ๆ เช่น วันเข้าพรรษา งานบุญกฐิน งานผ้าป่า  เป็นต้น

  1. ทรัพยากรธรรมชาติในเขตตำบลยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่   มีลำน้ำพุงไหลผ่าน มีหนองน้ำ

สาธารณะขนาดใหญ่หลายแห่ง  มีพื้นที่สาธารณประโยชน์สำหรับปลูกป่าชุมชน  ประชาชนสามารถหาอาหารได้จากการเก็บของป่า  สัตว์ป่า  และสัตว์น้ำ มาประกอบอาหารและขายบางส่วน  เช่น  เห็ด หน่อไม้ กบ เขียด กิ้งก่า ปลา ฯลฯ ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้บางส่วน

  1.  มีองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน  และประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบล  ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการ รวมถึงแก้ไขปัญหาได้ตรงกับความต้องการของคนในพื้นที่ได้มากที่สุด

               จุดอ่อนของพื้นที่

  1.  การคมนาคมไม่สะดวก สภาพถนนในเขตตำบล ที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านและถนนภายในหมู่บ้านยังไม่ได้มาตรฐาน บางส่วนเป็นถนนลูกรัง มีน้ำท่วมขัง ชื้นแฉะ ในฤดูฝน  และมีฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย ในฤดูแล้ง
  2.  ประชาชนขาดอาชีพเสริมหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ทำให้ขาดรายได้มา  ใช้จ่ายภายในครัวเรือน จำเป็นต้องกู้ยืมเงินมาใช้จ่ายและขาดความชำนาญในการประกอบอาชีพ
  3.  ประชาชนขาดความชำนาญในการประกอบอาชีพเสริม

               โอกาสการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น

  1.  อยู่ภายใต้ระบบการเมือง การปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนสามารถเลือกผู้นำท้องถิ่นที่มีความรู้ ความสามารถ มาเป็นตัวแทนในการพัฒนาท้องถิ่น
  2.  รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นช่วยเหลือประชาชนผู้ยากจนให้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง

อุปสรรคการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น

  1. อิทธิพลจากชาติตะวันตกเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมชนบท  ประชาชนให้ความสำคัญกับวัตถุนิยมมากขึ้น เป็นหนี้จากการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
  2.  ภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  เช่น การขึ้นราคาน้ำมัน ส่งผลให้ราคาสินค้า รวมถึง อุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆ มีราคาสูงขึ้น โครงการพัฒนาหมู่บ้านจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มมากขึ้น

 

 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

( ตำบลดงชน หน้า 22-24 )

48560