ITA 2568

การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Integrity and transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

 

ข้อ

ข้อมูลการเชื่อมโยง

คำอธิบาย

ข้อมูลพื้นฐาน
o1 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ • แสดงแผนผังโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของหน่วยงาน*
• แสดงตำแหน่งที่สำคัญและการแบ่งส่วนงานภายใน ยกตัวอย่างเช่น สำนัก กอง ศูนย์ ฝ่าย ส่วน กลุ่ม เป็นต้น
* กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ให้แสดงแผนผังโครงสร้าง ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ
• แสดงข้อมูลเฉพาะที่อธิบายถึงหน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน*
* ต้องไม่เป็นการแสดงข้อมูลกฎหมายทั้งฉบับ
o2 ข้อมูลผู้บริหาร • แสดงข้อมูลของผู้บริหารสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งทางการบริหารของหน่วยงาน
อย่างน้อยประกอบด้วย*
(1) ผู้บริหารสูงสุด
(2) รองผู้บริหารสูงสุด
• แสดงข้อมูลของผู้บริหารแต่ละคน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่อ-นามสกุล
(2) ตำแหน่ง
(3) รูปถ่าย
(4) ช่องทางการติดต่อ
* กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ให้แสดงข้อมูลผู้บริหารในฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ
o3 ข้อมูลการติดต่อ • แสดงข้อมูลการติดต่อของหน่วยงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ที่อยู่หน่วยงาน
(2) หมายเลขโทรศัพท์
(3) E-mail ของหน่วยงาน
(4) แผนที่ตั้ง
• แสดงช่องทางการสอบถามข้อมูลต่าง ๆ และหน่วยงานสามารถสื่อสารให้คำตอบ กับผู้สอบถามได้ โดยมีลักษณะเป็น การสื่อสารได้สองทาง (Q&A) ยกตัวอย่างเช่น Messenger Live Chat, Chatbot, Line official Account, Web board*
• สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยัง ช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลัก ของหน่วยงาน
*ไม่รวมถึง E-mail
การประชาสัมพันธ์
o4 ข่าวประชาสัมพันธ์ • แสดงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่หรือภารกิจของหน่วยงาน
• แสดง QR code แบบวัด EIT ของหน่วยงานที่ดาวน์โหลดจากระบบ ITAS ไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์หลัก ของหน่วยงาน เพื่อให้ผู้รับบริการ หรือติดต่อราชการมีโอกาสได้มีส่วนร่วม ในการประเมิน ITA ของหน่วยงาน
• เป็นข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2568
แผนการดำเนินงานและงบประมาณ
o5 แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน • แสดงแผนการดำเนินงานตามภารกิจ ของหน่วยงานที่มีระยะมากกว่า 1 ปี ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ยุทธศาสตร์หรือแนวทาง
(2) เป้าหมาย
(3) ตัวชี้วัด
• เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ ครอบคลุมปี พ.ศ. 2568
o6 แผนและความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ.2568 • แสดงแผนการดำเนินงานตามภารกิจ ของหน่วยงานประจําปี พ.ศ. 2568 ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) งบประมาณแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(3) ระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
• แสดงผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจําปี พ.ศ. 2568 ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ที่มีเนื้อหาหรือรายละเอียด ความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลการดำเนินงานของ แต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
o7 รายงานผลการดำเนินงานประจำปี พ.ศ.2567 • แสดงผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจําปี พ.ศ.2567 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อย ประกอบด้วย
(1) ผลการดำเนินการของแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(2) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(3) ผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(4) ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงกาหรือกิจกรรม
การปฏิบัติงาน
o08 คู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ • แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน* ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่องาน
(2) วิธีการขั้นตอนการปฏิบัติงาน
(3) ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
(4) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
* กรณีมีองค์กรกลางที่มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติในเรื่องนั้น หน่วยงานสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ แต่จะต้องมีองค์ประกอบด้านข้อมูลครบตามที่กำหนด
การให้บริการ
o09 คู่มือหรือแนวทางการขอรับบริการสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อ • แสดงคู่มือการขอรับบริการหรือแนวทางการปฏิบัติที่ผู้รับบริการหรือผู้มาติดต่อกับหน่วยงานใช้เป็นข้อมูลในการขอรับบริการหรือติดต่อกับหน่วยงาน* ที่มีรายละเอียดของแต่ละงาน อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่องาน
(2) วิธีการขั้นตอนการขอรับบริการ
(3) ระยะเวลาที่ใช้ในการขอรับบริการ
(4) ช่องทางให้บริการ เช่น สถานที่ ส่วนงานที่รับผิดชอบ
E-Service One Stop Service
(5) ค่ารรรมเนียม (กรณีไม่มีค่าธรรมเนียม ให้แสดงในคู่มือให้เห็นว่าไม่มีค่าธรรมเนียมในการขอรับบริการ โดยไม่มีการเว้นว่างข้อมูลไว้)
(6) รายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับบริการ (กรณีไม่มีรายการเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำขอรับบริการ ให้แสดงในคู่มือให้เห็นว่า ไม่มีเอกสารดังกล่าว โดยไม่มีการเว้นว่างข้อมูลไว้)
* กรณีมีองค์กรกลางที่มีหน้าที่ทําหนดมาตรฐาน การให้บริการในเรื่องนั้น หน่วยงานสามารถนำข้อมูล ดังกล่าวเผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานได้ แต่จะต้องมีองค์ประกอบด้านข้อมูลครบตามที่กำหนด
o10 E-Service • แสดงระบบการให้บริการ ผ่านช่องทางออนไลน์* ที่ผู้ขอรับบริการไม่ต้องเดินทางมายังจุดให้บริการ
• แสดงรายละเอียดวิธีการใช้งานระบบการให้บริการ
• สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทางข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
*ไม่รวมถึงช่องทางการถาม-ตอบ (Q&A) หรือสื่อสารตามปกติแบบออนไลน์ของหน่วยงาน
011 ข้อมูลสถิติการให้บริการ • แสดงข้อมูลสถิติที่ผู้รับบริการมาขอร้ับบริการ ณ จุดให้บริการ (Walk-in)  ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่องาน
(2) จํานวนผู้รับบริการที่เข้ามารับบริการ ณ จุดให้บริการ (Walk-in)
• แสดงข้อมูลสถิติการขอรับบริการผ่านช่องทาง E-Service ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่องาน
(2) จํานวนผู้รับบริการ ผ่านช่องทาง E-Service
• เป็นข้อมูลสถิติของปี พ.ศ. 2567
*กรณีไม่มีผู้รับบริการในช่วงเวลาใด ให้แสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้รับบริการในช่วงเวลานั้น โดยไม่มีการเว้นว่างข้อมูลไว้
การจัดซื้อจัดจ้าง
o12 รายการการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุและความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ • แสดงรายการการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานในประเภทงบรายจ่ายหมวดงบลงทุนที่จะมีการดำเนินการในปี พ.ศ. 2568 ที่มีวงเงินสูงสุดอย่างน้อย 100 รายการ* ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ชื่อรายการของงานที่ซื้อหรือจ้าง
(2) วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท)
(3) แหล่งที่มาของงบประมาณ
(4) สถานะการจัดซื้อจัดจ้าง
• แสดงความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานในประเภทงบรายจ่ายหมวดงบลงทุนที่มีการลงนามในสัญญาแล้ว ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) วิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(2) ราคากลาง (บาท)
(3) ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง (บาท)
(4) รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือก
(5) เลขที่โครงการในระบบ e-GP**
• เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ในปี พ.ศ. 2568
*กรณีหน่วยงานได้รับการจัดสรรงบลงทุน ในปี พ.ศ.2568 ไม่ถึง 100 รายการ หรือไม่รับการจัดสรรงบลงทุน ในปี พ.ศ.2568 มีรายละเอียดดังนี้
1) กรณีหน่วยงานไม่ได้รับจัดสรรงบลงทุน ให้แสดงข้อมูลรายการ และความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างๆ ของข้อมูลงบรายจ่าย ประเภทอื่นที่มีวงเงินสูงสุด ให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบ อย่างน้อย 100 รายการ
2) กรณีที่หน่วยงานได้รับจัดสรรงบลงทุนไม่ถึง 100 รายการ ให้แสดงข้อมูลที่ครบถ้วนตามองค์ประกอบ ดังนี้
2.1) แสตงรายการและความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของงบลงทุนที่ได้รับการจัดสรรทุกรายการและ
2.2) แสดงรายการและความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของข้อมูลงบรายจ่าย ประเภทอื่นที่มีวงเงินสูงสุด เพิ่มเติมจากข้อ 2.1) ให้ครบถ้วน รวมอย่างน้อย 100 รายการ
** กรณีการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ต้องดำเนินการระบบ e-GP ตามหนังสือกรมบัญชีตลาง ด่วนที่สุดที่ กค 0405.4/ว 322 ลงวันที่ 24 สิ่งหาคม 2560 ให้แสดงให้เห็นว่าไม่มีเลขที่โครงการในระบบ e-GP พร้อมเหตุผลประกอบ โดยไม่มีการเว้นว่างข้อมูลไว้
*** การถรอกข้อมูลแบบฟอร์ม ITA-o12 ตามภาคผนวก ก. ให้ดำเนินการ ดังนี้
1) กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบด้านข้อมูลที่กำหนด โดยไม่เว้นช่องว่าง
2) กรณีรายการของงานที่ซื้อหรือจ้างที่ยังไม่มีการลงนามในสัญญา ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 หรือรายการที่มีการ
ยกเลิกการดำเนินการ ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลความก้าวหน้าการจัดซื้อจัดจ้างฯ ในองค์ประกอบด้านข้อมูล ดังนี้ (1) วิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ (2) ราคากลาง (บาท) (3) ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง (บาท) (4) รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการศัตเลือก และ(5) เลขที่โครงการในระบบ e-GP
3) หน่วยงานต้องไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงแบบฟอร์ม ITA.-o12 ตามภาคผนวก ก.
4) รายละเอียดการกรอกข้อมูลให้เป็นไปดามคำอธิบายที่ปรากฎในแบบฟอร์ม ITA-o12
o15 ประกาศต่างๆเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ • แสดงแผนการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. 2560*
• แสดงประกาศการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ยกตัวอย่างเช่น ประกาศเชิญชวน ประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้าง
• เป็นข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ในปี พ.ศ. 2567
* กรณีไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างฯ ที่มีวงเงินเกิน 5 แสนบาท หรือที่กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องเผยแพร่แผนการจัดซื้อ จัดจ้างฯ ให้หน่วยงานอธิบายเพิ่มเติมโดยละเอียด หรือเผยแพร่ว่าไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างฯ ในกรณีดังกล่าว
o17 รายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจําปี • แสดงรายงานสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงาน ทีมีรายละเอียดอย่างน้อย ประกอบด้วย
(1) จํานวนรายการจัดซื้อจัดจ้างฯ จําแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(2) งบประมาณที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้างฯ จําแนกตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ (บาท)
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
• แสดงผลการจัดซื้อจัดจ้างฯ ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) งานที่ซื้อหรือจ้าง
(2) วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท)
(3) แหล่งที่มาของงบประมาณ
(4) สถานะการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(5) วิธีการจัดซื้อจัดจ้างฯ
(6) ราคากลาง (บาท)
(7) ราคาที่ตกลงซื้อหรือจ้าง (บาท)
(8) เลขประจําตัวผู้เสียภาษี/เลขประจําตัว ประชาชนของผู้ประกอบการที่ได้รับ การคัดเลือก
(9) รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับ การคัดเลือก
(10) เลขที่โครงการ
(11) วันที่ลงนามในสัญญา
(12) วันสิ้นสุดสัญญา
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
o18 แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล • แสดงแผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) งบประมาณที่ใช้แต่ละโครงการหรือกิจกรรม
(3) ระยะเวลาในการดำเนินการแต่ละโครงการหรือกิจกรรม
• เป็นแผนฯ ที่มีความครอบคลุมทั้งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567
o19 รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจําปี • แสดงผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) โครงการหรือกิจกรรม
(2) ผลการดำเนินการของแต่ละโครงการ/ กิจกรรม
(3) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรและผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(4) ระยะเวลาในการดำเนินการ (ระบุเป็นวัน เดือน ปีที่เริ่ม และสิ้นสุดการดำเนินการ)
(5) ข้อมูลสถิติอัตรากำลัง จําแนกตาม ประเภทตำแหน่ง
(6) ข้อมูลสถิติจํานวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือพัฒนาทรัพยากรบุคคล
(7) ปัญหา/อุปสรรค
(8) ข้อเสนอแนะ
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
o20 ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ • แสดงประมวลจริยธรรมสําหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
*กรณีประมวลจริยธรรมจะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยกรรม พ.ศ. 2562
* กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแสดงประมวลจริยธรรมจํานวน 3 ฉบับ ได้แก่ ประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น ประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาท้องถิ่น และประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง ประมวลจริยธรรมพนักงานส่วนท้องถิ่น
o21 การขับเคลื่อนจริยธรรม • แสดงผลการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม ให้แก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) การจัดตั้งทีมให้คำปรึกษาตอบคำถาม ทางจริยธรรมหรือคณะทํางาน ขับเคลื่อนเรื่องจริยธรรม โดยให้ แสดงเป็น คำสั่งแต่งตั้งที่เป็นทางการ
(2) แนวปฏิบัติ Dos & Don’ts เพื่อลดความสับสนเกี่ยวกับพฤติกรรม สีเทาและเป็นแนวทางในการประพฤติตน ทางจริยธรรม ที่จัดทําขึ้นโดยหน่วยงาน
(3) การฝึกอบรมที่มีการสอดแทรกสาระ ด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในหลักสูตร หรือกิจกรรมเสริมสร้าง/ ส่งเสริมจริยธรรมที่ดำเนินการ โดยหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2567
การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
022 แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ • แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่อง ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) รายละเอียดของข้อมูลที่ผู้ร้องควรรู้ เพื่อใช้ในการร้องเรียน เช่น ชื่อ-สกุลของ ผู้ถูกร้อง ช่วงเวลาการกระทําความผิด พฤติการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบ
(2) ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบ
(3) ขั้นตอนหรือวิธีการในการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบ
(4) ส่วนงานที่รับผิดชอบ
(5) ระยะเวลาดำเนินการ
o23 ช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ • แสดงช่องทางออนไลน์ที่บุคคลภายนอกสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน โดยต้องแยก ต่างหากจากช่องทางการร้องเรียนทั่วไป
• เป็นช่องทางที่มีการคุ้มครองข้อมูล ของผู้แจ้งเบาะแส
• สามารถเข้าถึงหรือเชื่อมโยงไปยังช่องทาง ข้างต้นได้จากเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน
o24 ข้อมูลสถิติการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ • แสดงข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) จํานวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด
(2) จํานวนเรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
(3) จํานวนเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
• เป็นข้อมูลของปี พ.ศ. 2566
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
o25 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม • แสดงผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจ ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
(2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
(3) ผลจากการมีส่วนร่วม
(4) การนําผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน
• เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงานในปี พ.ศ. 2567
นโยบาย No Gift Policy*
o26 ประกาศเจตนารมณ์นโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติหน้าที่ • เป็นประกาศฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ* อย่างเป็นทางการที่ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุด ที่ดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2567
• มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศว่าผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนในหน่วยงานจะไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดในขณะ/ก่อน/หลังปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
• เป็นการประกาศสําหรับปี พ.ศ. 2567
* การประกาศฯ ให้ประกาศในทุกปีงบประมาณ (ถึงแม้ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานยังเป็นบุคคลเดิม)
o27 การสร้างวัฒนธรรม No Gift Policy • แสดงการดำเนินกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อปลุกจิตสำนึกหรือสร้างวัฒนธรรมให้ เจ้าหน้าที่ในการปฏิเสธการรับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่
• เป็นการดำเนินกิจกรรมในลักษณะการประชุมการสัมมนา เพื่อถ่ายทอดหรือมอบนโยบายหรือเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
• เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2567
o28 รายงานผลตามนโยบาย No Gift Policy • แสดงรายงานการรับของขวัญและของกำนัล ตามนโยบาย No Gift Policy จากการปฏิบัติ หน้าที่สําหรับหน่วยงาน
• เป็นรายงานผลในภาพรวมของหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2566
o29 รายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา • แสดงรายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดโดยธรรมจรรยาสําหรับหน่วยงาน ตามมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐรรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
• เป็นรายงานผลในภาพรวมของหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2566
การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต
o30 การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวกับสินบน • แสดงผลการประเมินความเสี่ยงการทุจริต ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบนของการดำเนิน งานหรือการปฏิบัติหน้าที่ ตามภารกิจของหน่วยงาน อย่างน้อยประกอบด้วยประเด็นดังต่อไปนี้
(1) การอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติ การอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาต ของทางราชการ
พ.ศ. 2558*
(2) การใช้อำนาจตามกฎหมาย/ การให้บริการตามภารกิจ
(3) การจัดซื้อจัดจ้าง
(4) การบริหารงานบุคคล
• ในการประเมินความเสี่ยงการทุจริต แต่ละประเด็น ต้องมีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับ ของความเสี่ยง
(2) มาตรการในการบริหารจัดการ ความเสี่ยง
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2567
* กรณีหน่วยงานที่ไม่มีภารกิจการอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติ การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ให้ระบุว่า “ไม่มีความเสี่ยงการทุจริตในประเด็น การรับสินบนในกระบวนงานอนุมัติ อนุญาต เนื่องจากหน่วยงาน ไม่มีภารกิจการอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวย ความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558”
o31 รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี • แสดงผลการประเมินความเสี่ยงและผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจําปี พ.ศ. 2566 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย
(1) เหตุการณ์ความเสี่ยงและระดับ ของความเสี่ยง
(2) มาตรการในการบริหารจัดการ ความเสี่ยง
(3) ผลการดำเนินการตามมาตรการหรือการดำเนินการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยง
แผนป้องกันการทุจริต
o32 แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต • แสดงแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการทุจริตหรือส่งเสริมมาตรฐาน จริยธรรม หรือธรรมาภิบาลที่จัดทําโดยหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อย ประกอบด้วย
(1) โครงการ/กิจกรรม
(2) งบประมาณแต่ละโครงการ/กิจกรรม*
(3) ระยะเวลาดำเนินการแต่ละโครงการ/ กิจกรรม
• เป็นแผนที่มีระยะเวลาบังคับใช้ครอบคลุม ปี พ.ศ. 2567
*กรณีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ ให้ระบุในแผนว่าไม่ได้ใช้งบประมาณดำเนินการ
o33 รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจําปี • แสดงผลการดำเนินการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการทุจริตหรือส่งเสริมมาตรฐาน จริยกรรม หรือธรรมาภิบาล ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) ผลดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม
(2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินการ แต่ละโครงการ/กิจกรรม*
(3) ปัญหา/อุปสรรค
(4) ข้อเสนอแนะ
• เป็นรายงานผลของปี พ.ศ. 2566
*กรณีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ ให้ระบุในผลว่าไม่ได้ใช้งบประมาณดำเนินการ
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส่ภายในหน่วยงาน
o34 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน • แสดงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณรรรมและ ความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2566″ ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วยประเด็น ดังต่อไปนี้
(1) กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
(2) การให้บริการและระบบ E-Service
(3) ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
(4) กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สิน ของราชการ
(5) กระบวนการสร้างความโปร่งใส ในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง
(6) กระบวนการควบคุม ตรวจสอบ การใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล
(7) กลไกและมาตรการในการแก้ไข และป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
• แสดงการกำหนดวิธีการนําผลการวิเคราะห์ แต่ละประเด็นไปสู่การปฏิบัติ” ที่มีรายละเอียด อย่างน้อยประกอบด้วย
(1) วิธีการนําผลการวิเคราะห์ไปสู่การปฏิบัติ
(2) การกำหนดผู้รับผิดชอบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
(3) การกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติ
(4) ระยะเวลา
• แสดงการวิเคราะห์ข้อจํากัดของหน่วยงาน ในการดำเนินการประเมินคุณรรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ
* กรณีหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินฯ เป็นครั้งแรก ให้หน่วยงานวิเคราะห์ตามประเด็นที่กำหนดโดยคำนึงถึงบริบท
และการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน
o35 รายงานผลการดำเนินการ เพื่อส่งเสริมคุณรรรม และความโปร่งใส ภายในหน่วยงาน • แสดงผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงานตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ภายในหน่วยงาน” ที่มีรายละเอียดอย่างน้อย ประกอบด้วย
(1) มาตรการหรือกิจกรรมที่ดำเนินการ เพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส ภายในหน่วยงาน
(2) สรุปผลการดำเนินการตามมาตรการหรือกิจกรรม
(3) ผลลัพธ์หรือความสําเร็จของการดำเนินการ
• เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566
* กรณีหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินฯ เป็นครั้งแรก ให้หน่วยงานรายงานตามประเด็นที่ทําหนดโดยคำนึงถึงบริบท และการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน